วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา ศ21103


คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์)                                                                                              ภาคเรียนที่  2
รายวิชา ศ21103 ทัศนศิลป์           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เวลา 20 ชั่วโมง                                      จำนวน 0.5 หน่วยกิต
..............................................................................................................................................................
คำอธิบายรายวิชา
          วาภาพทัศนียภาพแสดงให้เห็นระยะใกล้ไกล เป็น 3 มิติ ออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกอื่น ๆ ในการนำเสนอความคิดและข้อมูล ประเมินงานทัศนศิลป์ และบรรยายถึงวิธีปรับปรุงงานของตนเอง และผู้อื่นโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดได้ เปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ใน
การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากล
          มีทักษะในการวาดภาพ ออกแบบการนำเสนอความคิดและข้อมูล ประเมินงานทัศนศิลป์ และบรรยาย โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดได้ เปรียบเทียบความแตกต่างงานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากล
          มีความสามารถในการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอความคิดและข้อมูล  
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เลือกใช้ทรัพยากรในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม และมีความมุ่งมั่นใน
การทำงาน

รหัสตัวชี้วัด
1.1  ม.1/3,  .1/5, ม.1/6
1.2  ม.1/3
รวมทั้งหมด 4  ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
รายวิชา ศ21103  ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์                   
วิพากษ์ วิจารณ์ คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะ อย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ม.1/3   วาดภาพทัศนียภาพแสดงให้เห็นระยะใกล้ไกล เป็น 3 มิติ
          ม.1/5   ออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกอื่น ๆ ในการนำเสนอความคิดและข้อมูล
          ม.1/6   ประเมินงานทัศนศิลป์ และบรรยายถึงวิธีปรับปรุงงานของตนเอง และผู้อื่นโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดได้
มาตรฐาน ศ 1.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
          ม.1/3  เปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากล


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา


คำอธิบายรายวิชา



กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์)                                                 ภาคเรียนที่  2
รายวิชา ศ21104 ดนตรี-นาฏศิลป์                                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
เวลา 20 ชั่วโมง                                                                       จำนวน 0.5 หน่วยกิต
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับเพลงไทย เพลงสากล และการปฏิบัติตามตัวโน้ต เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี โน้ตบทเพลงไทยและสากล วิธีการขับร้องบทเพลงในรูปแบบต่าง ๆ
วงดนตรีไทย วงดนตรีพื้นเมือง วงดนตรีสากล การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลง การประเมิน
คุณภาพของเพลงและการนำเสนอบทเพลง การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี ดนตรีกับสังคมไทย
การแสดงนาฏศิลป์ การปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ การสร้างสรรค์กิจกรรมการแสดง และการศึกษาค้นคว้าละครไทยยุคสมัยต่าง ๆ และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์
และละครไทย
          กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตภาพ ศึกษาใบความรู้ แล้วคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ จำแนกประเภท เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง อธิบาย วาดภาพ รวมทั้งสรุปเป็นแผนภาพความคิดเพื่อให้ผู้เรียนสร้างและนำเสนอผลงานด้านดนตรี-นาฏศิลป์ให้ได้ผลตามที่ต้องการ สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจความไพเราะ งดงามของดนตรีและนาฏศิลป์ บรรยายและอธิบายเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ได้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม นำความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
เห็นความสำคัญและคุณค่าของการสร้างสรรค์งานดนตรีและนาฏศิลป์ เชื่อมั่นภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ซาบซึ้ง เห็นคุณค่า รักและหวงแหนดนตรีและนาฏศิลป์ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
รหัสตัวชี้วัด
2.1   ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, ม.1/6, ม.1/7, ม.1/8, ม.1/9
2.2   ม.1/1, ม.1/2
3.1   ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5
3.2   ม.1/1, ม.1/2
รวมทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด



ตัวชี้วัด
สาระที่ 2 : ดนตรี
มาตรฐาน ศ 2.1  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            ม.1/1 อ่าน เขียน ร้องโน้ตไทยและโน้ตสากล
          ม.1/2 เปรียบเทียบเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
          ม.1/3 ร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้วยบทเพลงที่หลากหลายรูปแบบ
          ม.1/4 จัดประเภทของวงดนตรีไทยและวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ
          ม.1/5 แสดงความคิดเห็นที่มีต่ออารมณ์ของบทเพลงที่มีความเร็วของจังหวะและความดัง-เบา  แตกต่างกัน
          ม.1/6 เปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกในการฟังดนตรีแต่ละประเภท
          ม.1/7 นำเสนอตัวอย่างเพลงที่ตนเองชื่นชอบ  และอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานนั้นน่าชื่นชม
          ม.1/8 ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพงานดนตรีหรือเพลงที่ฟัง
          ม.1/9 ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ
มาตรฐาน ศ 2.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี  ประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรม  เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล
          ม.1/1 อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย
          ม.1/2 ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบดนตรีในวัฒนธรรมต่างกัน
สาระที่ 3 : นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ 3.1  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ม.1/1 อธิบายอิทธิพลของนักแสดงชื่อดังที่มีผลต่อการโน้มน้าวอารมณ์หรือความคิดของผู้ชม
          ม.1/2 ใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแสดง
          ม.1/3 แสดงนาฏศิลป์และละครในรูปแบบง่ายๆ
          ม.1/4 ใช้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในกระบวนการผลิตการแสดง
          ม.1/5 ใช้เกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดให้ในการพิจารณาคุณภาพการแสดงที่ชม โดยเน้นเรื่องการใช้เสียงและการแสดงท่าและการเคลื่อนไหว
มาตรฐาน ศ 3.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์  ประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรม  เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ม.1/1 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์  นาฏศิลป์พื้นบ้าน  ละครไทย  และละครพื้นบ้าน
          ม.1/2 บรรยายประเภทของละครไทยในแต่ละยุคสมัย